ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายมาก และมีคนจากทั่วโลกมาทำงานและใช้ชีวิตที่นี่เป็นจำนวนมาก ผู้เกิดที่ประเทศสิงคโปร์มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรปัจจุบัน ดังนั้นจะเป็นเรื่องไม่ประหลาดใจที่ 40% ของการจดทะเบียนสมรสที่สิงคโปร์ในปีค.ศ. 2008 เป็นระหว่างคนสิงคโปร์และคนต่างชาติ ตอนนี้ยังไม่มีสถิติที่บอกจำนวนการสมรสโดยทั้งสองฝ่ายเป็นคนต่างชาติ ในปี 2017 จะมีคดีหย่าร้าง 1 คดีต่อทุกๆ 4 คดีการสมรส
ดังนั้นการสมรสที่สิ้นสุดลงที่สิงคโปร์ จะก่อให้มีการขอใช้อำนาจในการปกครองบุตรข้ามชาติมากกว่าที่เมืองอื่นๆ ในโลกทางสถิติ ซึ่งดิฉันสามารถยืนยันความเป็นจริงนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวได้
ในบทความนี้ดิฉันจะให้คำตอบแก่คำถามบางคำถามที่ลูกค้าที่ต้องดำเนินการคดีการขอใช้อำนาจปกครองบุตรมักจะถามดิฉันบ่อยที่สุด
เขตอำนาจศาลใดจะวินิจฉัยว่าฝ่ายใดจะได้รับอำนาจปกครองบุตร
ในกรณีที่บุตรของคุณถูกอีกฝ่ายพาออกจากประเทศที่เขาพักอาศัยเป็นประจำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุณ เขตอำนาจศาลที่จะพิพากษาคดีอำนาจปกครองบุตรนี้ คือเขตอำนาจศาลของประเทศที่บุตรของคุณพักอาศัยเป็นประจำ เพราะฉะนั้นประเทศที่บุตรของคุณโดนพาไปอยู่ต้องส่งเขาคืนที่ประเทศที่เขาพักอาศัยเป็นประจำ เพื่อให้ศาลที่นั่นวินิจฉัยเรื่องอำนาจปกครองบุตรโดยไม่พิจารณาข้อดีของข้อแก้ต่างอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการขอใช้อำนาจปกครองบุตร ซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาเฮกว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติ (Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction เรียกย่อว่า อนุสัญญาเฮก) ซึ่งมีประเทศทั่วโลกร่วมกันยืนยันทั้งหมด 98 ประเทศ
สิ่งแรกที่ต้องทำเวลามีเรื่องการลักพาตัวเด็กข้ามชาติเกิดขึ้นคือ ตรวจสอบว่าประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งสองประเทศได้ยืนยันอนุสัญญาเฮกหรือไม่ ในกรณีที่ประเทศที่เกี่ยวข้องไม่ได้ยืนยันอนุสัญญาเฮกจะทำให้กระบวนการซับซ้อน ทำนายยาก และใช้เวลานานมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่ในบทความนี้อาจจะไม่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ขอแจ้งด้วยว่าอนุสัญญาเฮกใช้ได้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีเท่านั้น
ประเทศที่ยืนยันอนุสัญญาเฮกส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศของทวีปเอเชียที่ยืนยันอนุสัญญาเฮกมีแค่ประเทศสิงคโปร์ ศรีลังกา ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย และ ฟิลิปปินส์
ประเทศที่เด่นที่ไม่ได้ยืนยันอนุสัญญาเฮก มีประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน (ซึ่งกำลังยืนยันอยู่ ณ เวลาที่เขียนบทความนี้) อินเดีย เวียดนาม และประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาและตะวันออกกลาง
ในกรณีที่ประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งสองประเทศได้ยืนยันอนุสัญญาเฮกแล้ว บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ยื่นคำร้องขอเรียกบุตรคืน ประเทศที่บุตรโดนลักพาไปอยู่ต้องส่งเขาคืนไปที่ประเทศที่เขาอยู่เป็นประจำภายในหกอาทิตย์โดยไม่พิจารณาข้อดีของข้อแก้ต่างใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอใช้อำนาจปกครองบุตร
ยกตัวอย่างเช่น สมชัยและมานีพักอาศัยอยู่ที่เม็กซิโกกับลูกสาวชื่อแป้ง มานีจากลาสมชัยและลักพาแป้งไปอยู่ที่สิงคโปร์ด้วยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสมชัยมาก่อนและไม่ยอมพาแป้งกลับไปที่เม็กซิโก ในกรณีนี้ศาลประเทศไหนจะมีสิทธิตัดสินว่าแป้งต้องไปอยู่กับสมชัยหรือมานี
คำตอบคือศาลที่เม็กซิโก ถ้าสมชัยได้ยื่นคำร้องขอเรียกแป้งคืนไปที่เม็กซิโกและมานีปฏิเสธคำร้องขอนั้น ศาลที่สิงคโปร์จะต้องสั่งให้แป้งกลับไปที่เม็กซิโกเพื่อให้ศาลที่เม็กซิโกพิพากษาว่าแป้งควรจะอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายใด
ผมได้รับอำนาจปกครองบุตรเรียบร้อย บุตรผมสามารถย้ายออกจากประเทศสิงคโปร์ถาวรด้วยผมได้หรือไม่
ไม่จำเป็น ที่คุณได้รับอำนาจปกครองบุตรเรียบร้อย ไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีสิทธิให้บุตรย้ายออกจากประเทศสิงคโปร์ถาวร เว้นแต่กรณีที่คำสั่งศาลได้ระบุอย่างชัดเจนให้คุณมีสิทธิให้บุตรย้ายประเทศ ณ วันที่กำหนดไว้
ถ้าความปรารถนาที่จะย้ายไปอยู่ต่างประเทศเกิดขึ้นหลังจากการหย่าร้างจบไปเรียบร้อย คุณจะต้องขออนุญาตอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเพื่อพาบุตรไปอยู่ต่างประเทศ ในกรณีที่อีกฝ่ายอนุญาต คุณจะต้องตกลงกับอีกฝ่ายเรื่องการเข้าถึงของอีกฝ่ายว่าจะเป็นยังไง
ในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่อนุญาต คุณจะต้องยื่นคำร้องขอพาบุตรย้ายไปอยู่ต่างประเทศที่ศาลครอบครัว (Family Court) ทางศาลฯจะตัดสิน หลังจากพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของบุตร
อะไรถือว่าเป็นการลักพาเด็กข้ามชาติ
เด็กจะถือว่าโดนลักพาข้ามชาติ หรือ “พาย้ายไปอยู่ต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย” ก็ในเมื่อการพาเด็กคนนั้นย้ายไปอยู่ต่างประเทศนั้นละเมิดสิทธิอำนาจปกครองบุตรของอีกฝ่ายหนึ่งตามกฏหมายของประเทศที่เด็กคนนั้นโดนพาออก พร้อมกับอีกฝ่ายได้ใช้สิทธิอำนาจปกครองบุตร ณ ตอนนั้น หรือไม่ก็อีกฝ่ายจะใช้สิทธิอำนาจปกครองบุตรอย่างเช่นเดิมในกรณีที่เด็กคนนั้นไม่ได้โดนพาออกจากประเทศนั้น
สิทธิอำนาจปกครองบุตรเนื่องมาจากข้อกำหนดในกฏหมาย (เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจจะได้รับอำนาจปกครองบุตรโดยพฤตินัยในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้หย่าร้างกันและไม่มีคำสั่งศาลที่เกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตร) หรือเนื่องมาจากคำสั่งศาล หรือเนื่องมาจากการตกลงกันในเรื่องอำนาจปกครองบุตรที่สามารถบังคับใช้ได้ ณ ประเทศที่อยู่เป็นประจำ
บุตรผมเป็นผู้พักอาศัยประจำในประเทศไหน การพักอาศัยเป็นประจำคืออะไร
ตอนนี้ยังไม่มีคำนิยามสำหรับ “การพักอาศัยเป็นประจำ” แต่โดยปกติประเทศที่บุตรพักอาศัยอยู่ตามปกติก่อนหน้าที่เหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้มีคำร้องขอเรียกบุตรคืนจะเกิดขึ้นนั้น จะถือว่าเป็นประเทศที่บุตรพักอาศัยเป็นประจำ
โดยปกติฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถกำหนดประเทศที่พักอาศัยเป็นประจำของบุตรได้เพียงฝ่ายเดียวด้วยการลักพาบุตรไปอยู่อีกประเทศหนึ่งและให้บุตรอยู่นานเพื่อที่จะอ้างว่าประเทศนั้นเป็นประเทศพักอาศัยเป็นประจำใหม่ของบุตรและการพาออกใดๆ จะถือว่าเป็นการกระทำผิดกฏหมาย แต่ถ้าบุตรอยู่ในประเทศใหม่ยิ่งนานประเทศนั้นจะถือว่าเป็นประเทศพักอาศัยเป็นประจำของบุตรมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น สมชัยและมานีพักอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นกับลูกสาวชื่อแป้ง มานีพาแป้งย้ายไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากสมชัยหรือคำสั่งศาลซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแห่งประเทศญี่ปุ่น หลายเดือนผ่านมา สมชัยจึงมีโอกาสไปที่ประเทศสิงคโปร์และได้พาแป้งกลับไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่ตรงกันกับความต้องการของมานี ตามอนุสัญญาเฮก มานีไม่สามารถที่จะได้รับคำสั่งศาลที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะพาแป้งกลับไปที่ประเทศสิงคโปร์ได้ เพราะประเทศที่พักอาศัยเป็นประจำของแป้งคือประเทศญี่ปุ่นก่อนที่แป้งโดนพาออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกอย่างคือแป้งไม่ได้พักอาศัยที่ประเทศสิงคโปร์นานพอสมควร ดังนั้นประเทศสิงคโปร์ไม่ถือว่าเป็นประเทศที่แป้งพักอาศัยเป็นประจำ
ถ้าสถานภาพการเข้าเมืองของผมถูกยกเลิก ผมยังสามารถคงอำนาจปกครองบุตรไว้ได้หรือไม่
ในกรณีที่ (i) คุณไม่มีสิทธิ์อยู่ต่อที่ประเทศสิงคโปร์ หรือ (ii) คุณไม่สามารถได้รับคำสั่งศาลที่จะอนุญาตให้คุณพาบุตรไปอยู่ประเทศอื่นได้ คุณจะไม่สามารถคงอำนาจปกครองบุตรไว้ได้
ปกติเวลาคนสิงคโปร์หย่ากับคนชาวต่างชาติ วีซ่าของฝ่ายผู้ที่เป็นชาวต่างชาติที่ให้สถานภาพการเข้าเมืองที่ฝ่ายคนสิงคโปร์ต้องสนับสนุนนั้นจะถูกยกเลิก ถ้ามีลูกที่เกิดภายใต้การสมรสที่สิงคโปร์ ลูกจะถือสัญชาติสิงคโปร์เนื่องจากมีพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมให้กับฝ่ายคนสิงคโปร์ในการดำเนินการคดีเรื่องอำนาจปกครองบุตรที่ศาลครอบครัว เพราะฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติจะไม่สามารถใช้สิทธิอำนาจปกครองบุตรโดยไม่ทำให้บุตรต้องพ้นจากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและพาบุตรไปอยู่ด้วยที่ประเทศที่ฝ่ายนั้นมีสิทธิ์ใช้ชีวิต ซึ่งก็จะทำให้ฝ่ายผู้ที่เป็นคนสิงคโปร์ขาดสิทธิอำนาจปกครองบุตรในขณะเดียวกัน อีกอย่างคือ การที่บุตรจะได้รับสิทธิ์ใช้ชีวิตที่ประเทศใหม่หรือไม่ ก็จะทำให้เกิดความไม่แน่นอนมากขึ้น
วิธีแก้ไขปัญหาวิธีหนึ่งคือ ถ้ามีบุตรถึงอายุ 21 ปีบริบูรณ์อย่างน้อยหนึ่งคน บุตรคนนั้นจะสามารถสนับสนุนวีซ่าของฝ่ายผู้ที่เป็นชาวต่างชาติได้ ทำให้มีโอกาสที่เป็นธรรมมากขึ้นแก่ทั้งสองฝ่ายในการดำเนินการคดีเรื่องอำนาจปกครองบุตรที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่บุตรมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง
หากไม่มีบุตรที่ถึงอายุ 21 ปีที่สามารถสนับสนุนวีซ่าฝ่ายผู้ที่เป็นชาวต่างชาติได้ ฝ่ายผู้ที่เป็นชาวต่างชาติจะต้องหาวิธีได้รับมือสถานภาพการเข้าเมืองที่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างเช่นหาผู้จ้างที่จะสามารถสนับสนุนวีซ่าเกี่ยวกับการทำงานได้ กระบวนการนี้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ถ้าในระหว่างนั้นวีซ่าฝ่ายผู้ที่เป็นชาวต่างชาติโดนยกเลิก เขาจะต้องออกจากประเทศสิงคโปร์ภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์ ดังนั้นเป็นสำคัญอย่างยิ่งที่ฝ่ายผู้ที่เป็นชาวต่างชาติต้องหาเวลาคิดเรื่องวิธีอื่นๆ
ในกรณีที่ฝ่ายผู้ที่เป็นชาวต่างชาติถูกฝ่ายคนสิงคโปร์หย่าร้างหรือกำลังดำเนินคดีขอใช้อำนาจปกครองบุตร ฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติจะสามารถได้รับบัตรอนุญาตพิเศษ (special pass) จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ (Immigration and Customs Authority, ชื่อย่อ ICA) ซึ่งจะอนุญาตให้ฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติอยู่ต่อในประเทศสิงคโปร์นานเท่าที่จำเป็น จนกว่าศาลได้ดำเนินการคดีให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ การดำเนินการคดีอาจจะใช้เวลาเกินหนึ่งปีกว่าจะสิ้นสุดลง ซึ่งในระหว่างนั้นข้อดีของคำร้องขอของทั้งสองฝ่ายอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายใดเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูหลักและมีการเข้าถึงบุตรมากกว่ากันในระหว่างนั้น เป็นสำคัญอย่างยิ่งที่คุณควรจะได้รับบัตรอนุญาตพิเศษก่อนหน้าวันที่จะต้องออกจากประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นในกรณีที่ฝ่ายที่เป็นคนสิงคโปร์ได้ยกเลิกการสนับสนุนวีซ่าของคุณ คุณควรจะไปหาทนายความทันที เพื่อที่จะสมัครขอบัตรอนุญาตพิเศษโดยด่วน และดำเนินเรื่องการขอใช้อำนาจปกครองบุตรให้ดีที่สุดถ้าคุณต้องการได้รับอำนาจปกครองบุตร
คู่สมรสกล่าวหาว่าผมได้พาบุตรไปจากเขาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ผมสามารถพึ่งพาข้อแก้ต่างอะไรได้บ้าง
ตามความเกี่ยวข้องเฉพาะกรณีของคุณ คุณอาจจะสามารถอ้างได้ว่าการที่คุณพาบุตรออกจากประเทศใหม่นั้นไม่ผิดเพราะคุณแค่พาบุตรกลับไปสู่ประเทศเดิมที่บุตรพักอาศัยอยู่เป็นประจำก่อนหน้าที่อีกฝ่ายหนึ่งได้พาบุตรย้ายไปอยู่ประเทศใหม่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ในตัวอย่างดังกล่าว สมชัยสามารถใช้ข้อแก้ต่างนี้ได้ในกรณีที่มานีขอคำสั่งศาลประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้แป้งกลับไปที่สิงคโปร์
ตามความเกี่ยวข้องเฉพาะกรณีของคุณ คุณอาจจะสามารถอ้างได้ว่าหลังจากที่คุณได้พาบุตรไปอยู่ที่ประเทศใหม่แล้ว บุตรได้ตั้งถิ่นฐานที่ประเทศนั้นเรียบร้อยเป็นประเทศที่พักอาศัยเป็นประจำที่ใหม่ ซึ่งได้แทนที่ประเทศพักอาศัยเป็นประจำเดิม ในตัวอย่างดังกล่าว มานีสามารถใช้ข้อแก้ต่างนี้ได้ในกรณีที่สมชัยได้ยื่นคำร้องขอที่ศาลสิงคโปร์เพื่อให้แป้งกลับไปที่ประเทศญี่ปุ่นแต่ความเป็นไปได้ที่มานีจะชนะค่อนข้างต่ำเพราะแป้งได้อยู่ที่สิงคโปร์เป็นเวลาแค่ไม่กี่เดือน โดยปริยายหมายความว่าประเทศสิงคโปร์คงยังไม่ได้แทนที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศพักอาศัยเป็นประจำของแป้ง
คุณอาจอ้างได้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ใช้สิทธิอำนาจปกครองบุตร ณ เวลาที่พาบุตรออกจากประเทศ
คุณอาจอ้างได้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งได้อนุญาตหรือตกลงให้คุณพาบุตรออกจากประเทศ
ถ้ามีเวลาผ่านมาเกินหนึ่งปีในระหว่างวันที่พาบุตรออกจากประเทศหรือให้บุตรอยู่ในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย และวันที่ยื่นคำร้องขอเรียกบุตรคืนไปที่ประเทศเดิมนั้น จะถือเป็นข้อแก้ต่างที่สมบูรณ์ตามข้อ 12 ของอนุสัญญาเฮก
ถ้าบุตรมีอายุมากพอสมควรหรือมีความคิดผู้ใหญ่พอสมควร ความคิดเห็นของบุตรอาจจะได้รับพิจารณา และถ้าบุตรไม่ต้องการที่จะกลับไปที่ประเทศพักอาศัยเป็นประจำเดิม อาจจะทำให้การยื่นคำร้องขอถูกปฏิเสธ
ถ้าคุณสามารถพิสูจน์ได้ว่าการที่ส่งบุตรคืนไปที่ประเทศเดิม จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่สูงที่บุตรจะถูกทำร้ายทางร่างกายหรือทางจิตใจ หรือไม่ก็จะทำให้บุตรต้องใช้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจทนได้ คุณอาจจะสามารถประสบความสำเร็จในการต่อต้านคำร้องขอส่งบุตรคืนได้ตามข้อ 13 ของอนุสัญญาเฮก แต่มาตรฐานสำหรับการพิสูจน์ความเป็นไปได้ที่บุตรจะถูกทำร้ายนั้นจะสูงมาก
ถ้าการส่งบุตรคืนจะทำให้สิทธิมนุษยชนพื้นฐานหรือเสรีภาพพื้นฐานของบุตรถูกละเมิด ศาลอาจจะไม่ให้คำสั่งให้ส่งบุตรคืนตามข้อ 20 ของอนุสัญญาเฮก
Have a question on cross border child custody issues?
If you have any questions regarding child custody matters, you can get a Quick Consult with Nadia Moynihan or with other lawyers. With Quick Consult, from a transparent, flat fee of $49, a lawyer will call you on the phone to give you legal advice.
This article is written by Nadia Moynihan from August Law Corporation.
This article does not constitute legal advice or a legal opinion on any matter discussed and, accordingly, it should not be relied upon. It should not be regarded as a comprehensive statement of the law and practice in this area. If you require any advice or information, please speak to practicing lawyer in your jurisdiction. No individual who is a member, partner, shareholder or consultant of, in or to any constituent part of Interstellar Group Pte. Ltd. accepts or assumes responsibility, or has any liability, to any person in respect of this article.